เรารู้จักเบียร์เยอรมันกันมาอย่างยาวนานเพราะถือเป็นอีกหนึ่งประเทศที่เป็นต้นแบบการทำเบียร์ของโลก แม้ทาง SPACECRAFT จะไม่มีเบียร์สไตล์นี้ แต่วันนี้จะขอมาเล่าให้ฟังครับ ท่านใดที่รักและสนใจในเบียร์ฝากแชร์และกดติดตามเพจจะได้อ่านเรื่องใหม่ๆ ตลอดด้วยนะครับ ☺️
Reinheitsgebot
(อ่านว่า : ไรน์~ไฮน์~เก~บอ-อท) หรือที่รู้จักกันในภาษาอังกฤษว่ากฎหมาย Purity Law หมายถึงพระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยดยุควิลเฮล์มที่ 4 แห่งบาวาเรียเมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 1516 ข้อความต้นฉบับกล่าวว่า “We wish…forthwith that…in all our towns and markets and in the countryside no other items be used for beer than barley, hops, and water.” (“เราปรารถนา…ในทันทีนั้น… ในเมือง ตลาด และในชนบททั้งหมดของเรา จะไม่มีสิ่งของอื่นใดที่ใช้ทำเบียร์ได้นอกจากข้าวบาร์เลย์ ฮ็อพ และน้ำ”)
และตอนนี้ Reinheitsgebot เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายภาษีของเยอรมนีสมัยใหม่ ซึ่งอยู่ภายใต้ “Section 9 of the Public Notice concerning the Amendment of the Provisional Beer Law dated July 29, 1993”
จนถึงตอนนี้ Purity Law มีอายุเกิน 500 ปีแล้ว 🧐
กฎระเบียบง่ายๆ นี้ยังคงเป็นพื้นฐานสำหรับกฎหมายที่ควบคุมการผลิตเบียร์ในเยอรมนี และผู้ดื่มเบียร์ทั่วโลกที่มองว่าเป็นการรับประกันคุณภาพ อันที่จริง Reinheitsgebot ได้รับการยอมรับว่าเป็นกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคฉบับแรกและเป็นที่รู้จักดีที่สุดซึ่งยังคงบังคับใช้ในเยอรมนีและทั่วโลก
แม้ความหมายของ Reinheitsgebot จะเป็นการควบคุมวัตถุดิบ แต่เมื่อเทียบกับ เทคโนโลยีการผลิตเบียร์ในปัจจุบันยังจะถือว่าบริสุทธิ์อยู่ไหม? เพราะวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการปฏิวัติอุตสาหกรรมได้เปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตเบียร์อย่างมากในช่วง 500 ที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านการค้นพบยีสต์ ซึ่งรวมเป็นส่วนประกอบที่สี่ในการตีความสมัยใหม่ของ Purity Law รวมถึงการใส่แร่ธาตุเพิ่มในน้ำที่ใช้ทำเบียร์ การอัด Co2 เข้าไปในการทำเบียร์ ถ้าพูดกันตามหน้ากระดาษ ก็เป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือจากวัตถุดิบ 4 อย่างที่บอกเอาไว้
ถึงตอนนี้ Purity Law มีสองฉบับ คือของบาวาเรียและของเยอรมัน เวอร์ชันบาวาเรียยังคงจำกัดการใช้วัตถุดิบที่ต้องเป็น มอลต์ข้าวบาร์เลย์ ฮ็อพ น้ำ และยีสต์ เท่านั้นสำหรับ Bottom-fermented Beer และอนุญาติให้ใช้มอลต์เพิ่มเติมได้ เช่น ข้าวสาลีและข้าวไรย์สำหรับ Top-fermented beer
ในทางกลับกัน เวอร์ชันเยอรมันนั้นมีความผ่อนปรนมากกว่าเล็กน้อยเมื่อพูดถึง Bottom-fermented beer ที่อนุญาติให้เติม “น้ำตาลทรายบริสุทธิ์ หรือน้ำตาลชนิตต่างๆ ตลอดจนสารแต่งสีที่ทำจากน้ำตาลเหล่านี้”
ผู้ผลิตเบียร์เยอรมัน—รวมถึงในบาวาเรีย—ที่ไม่ปฏิบัติตาม Reinheitsgebot อาจขายเครื่องดื่มของตนได้ แต่ไม่อาจเรียกว่าเบียร์ได้ อย่างไรก็ตาม ในปีพ.ศ. 2530 ศาลยุโรปได้โจมตีอย่างรุนแรงต่อ Reinheitsgebot เพราะขัดต่อกฎหมายหลายข้อเกี่ยวกับการค้าเสรีกับเบียร์ที่ผลิตขึ้นในส่วนอื่นๆ ของยุโรป ดังนั้นผู้ผลิตเบียร์ที่ไม่ใช่ชาวเยอรมันจึงได้รับอนุญาตให้ขายแม้แต่เบียร์ที่ไม่ผ่าน Reinheitsgebot ในเยอรมนีและเรียกพวกเขาว่า “เบียร์” ในขณะที่ผู้ผลิตเบียร์ชาวเยอรมันภายใต้กฎหมายภายในประเทศของพวกเขายังคงถูกบังคับให้ปฏิบัติตาม Reinheitsgebot เมื่อผลิตเบียร์สำหรับตลาดของตัวเอง
ปัจจุบันผู้ผลิตเบียร์สัญชาติเยอรมันได้รับอนุญาตแล้วตามมาตรา 9 (7) เรื่องการแก้ไขกฎหมายเบียร์ชั่วคราวเพื่อแยกตัวออกจากข้อจำกัดของกฎหมาย Reinheitsgebot ของเยอรมันในการผลิตเบียร์เพื่อการส่งออก…ยกเว้นในบาวาเรียที่ผู้ผลิตเบียร์ยังคงต้องปฏิบัติตาม กฎหมายฉบับบาวาเรียไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น
โลกของเบียร์มีเรื่องราวอีกมากมาย ไว้จะหามาฝากกันเรื่อยๆ ฝากกดติดตามเพจด้วยนะครับ
Drink Responsibly.