ฮอปเป็นสิ่งที่ทำให้เบียร์ขม ให้อโรม่าในเบียร์และยังช่วยยืดอายุเบียร์เพราะเป็น antimicrobial ฮอปจึงเป็นสิ่งที่เบียร์ขาดไม่ได้และพอดี สัปดาห์ที่แล้วมีโอกาสได้ฟัง Webinar จากทาง Yakima Chief ที่พูดถึง CRYO HOPS ได้รับ US patent หลังจาก launch สู่ตลาดมาเป็นเวลา 5 ปี Cryo Hops เป็นหนึ่งใน Hops Product ที่ผมใช้ในการ Dry Hop บ่อยมากๆในเบียร์ของ SPACECRAFT เพราะปริมาณน้ำมันและ Alpha Acid ที่สูงจะช่วยให้อโรม่าชัดเจนขึ้นและเหลือน้ำเบียร์มากขึ้นเทียบกับ T-90 ที่จะมีกากฮอปตกค้าง วันนี้เลยอยากจะมาเล่าให้ฟังว่า Hop Products มีอะไรบ้าง เริ่มกันเลยครับ
Wet Hops
คือฮอปสดที่นำมาใช้ทันทีหลังการเก็บเกี่ยว ฮอปสดจะมีปริมาณความชื้นอยู่ที่ 80% โดยทั่วไปจะใช้ในการดรายฮอปเพื่ออโรม่าที่สดใหม่และเพิ่มรสสัมผัส ขอเสียคือใช้งานได้ในช่วงที่ฮอปออกใหม่ และอายุในการใช้งานสั้น
Whole leaf/Cones Hops
คือดอกฮอปทั้งดอกจากฮอปเพศเมียที่นำมาทำให้แห้งและกดให้แบน จากนั้นนำไปเข้าเตาอบให้เหลือความชื้น 8.5-10.5% โดยที่ขั้นตอนทั้งหมดจะถูกจัดการหลังจากการเก็บเกี่ยวไม่กี่ชั่วโมง ข้อดีคือจะได้ความสดใหม่ แต่อาจจะต้องใช้ปริมาณมากและกินที่ในการเก็บรักษา
Hops Plugs
เป็นการผสมกันระหว่าง whole leaf กับ pellet hops โดนอัดออกมาเป็น plug ขนาดประมาณจุกไวน์ ข้อดีคือยังได้ความสดแต่น้อยกว่า whole leaf กินเนื้อที่ในการเก็บน้อยกว่า ใช้งานง่ายกว่า whole leaf/cone ฮอป
Pellets T-90 and T-45
Pellet T-90 คือดอกฮอปที่ถูกบดเป็นผงแล้วอัดผ่านแม่พิมพ์ โดยที่รวมทั้งดอกของฮอปเอาไว้ และสามารถใช้แทน whole leaf/cone ฮอปได้ทันที ส่วน Pellet T-45 ก็มีกระบวนการที่คล้ายกัน ยกเว้นว่าเมื่อบดแล้ว จะต้องให้ความร้อนเพื่อทำให้ lupulin มีความเหนียวน้อยลง เมื่อผ่านเครื่องบดแล้วจะถูกนำส่วนประกอบของ cone ที่ไม่จำเป็นออก จากนั้นที่เหลือจะถูกอัดผ่านแม่พิมพ์เพื่อทำให้เป็น Pellet เราสามารถใช้ Pellet T-45 แทน whole leaf/cone ได้เช่นกัน ความแตกต่างระหว่าง Pellet ทั้งสองประเภทคือ ใน T-45 จะมี Alpha Acid เหมือนกับแต่กากที่หลงเหลือจากการใช้งานจะน้อยกว่า T-90 ทำให้ได้น้ำเบียร์หลังการใช้งานมากกว่า และเนื่องด้วยผิวสัมผัสที่น้อยกว่า ทำให้การเก็บรักษาทำได้ง่ายและเก็บได้นานกว่า
Cryo Hops Yakima /Lupulin Pellets Hopsteiner
คือ product ในรูป pellets ที่เป็นการสกัด resin และ aromatic oil ใน lupulin แบบเข้มข้นจาก whole leaf/cone hops โดยตั้งใจจะให้ผู้ใช้สามารถใช้ฮอปในปริมาณที่มากขึ้นได้โดยที่ไม่มีปัญหาจากการใส่ฮอปเยอะเช่น รสฝาดหรือกากฮอปที่จะเยอะเกินไปทำให้เสียน้ำเบียร์เยอะ สามารถใช้แทน whole leaf/cone hops ได้ทันที โดยใช้เพียง 40-50% ของน้ำปริมาณ T-90 เดิมที่ใช้ (เวลาผมใช้จะผสม T-90 เข้าไปบางส่วน เพราะ product ตัวนี้ oil มันแรงมากจนบางทีมันแรงไปจนเสีย balance)
จริงๆยังมี Hop Products อีกหลายชนิด เช่น BarthHaas IsoHop ทีเป็น iso-alpha acid เข้มข้นที่ช่วยให้คุม IBU ได้อย่างแม่นยำ, BarthHaas Redihop ที่ออกแบบมาช่วยให้เบียร์ทนทานต่อแสงมากขึ้น หรือทาง Hopsteiner ที่ใช้วิธี CO2 Hop Extract เพื่อลดการสูญเสียของ Hop oil ได้อย่างมากมายในกระบวนการผลิต
แม้ชื่อเรียกของ Hop Products แต่ละแบรนด์จะต่างกันแต่ product ของแต่ละแบรนด์ก็ใช้งานทดแทนกันได้เหมือนกันเกือบทั้งหมด ในประเทศเราที่มีผู้นำเข้ามาคือแบรนด์ Barth Haas, Hop Steiner ติดต่อได้ที่ Line @smkbrauhaus และ Yakima Chief ติดต่อได้ที่ Line @globalhops ซึ่งทั้ง 3 แบรนด์นี้แทบจะเป็น 3 เจ้าใหญ่ที่สุดในโลกแล้วครับ
พบกันใหม่สัปดาห์หน้า
Stay Safe!
Drink Responsibly.
SPACECRAFT